Large Rainbow Pointer Large Rainbow Pointer

วันพฤหัสบดีที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2558

ครั้งที่4

บันทึกอนุทิน
วัน พุธ ที่ 28 มกราคม 2558


เนื้อหา

1.ทฤษฎีเพียเจต์กับความรู้ทางคณิตศาสตร์
2.จุดมุ่งหมายของการสอนคณิตศาสตร์ในระดับปฐมวัย
3.ขอบข่ายของหลักสูตรคณิตศาสตร์ในระดับปฐมวัย
4.หลักการสอนคณิตศาสตร์ในระดับปฐมวัย

จุดมุ่งหมายของการสอนคณิตศาสตร์ในระดับปฐมวัย

-เพื่อให้เด็กสามารถเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ เช่น รู้จักคำศัพท์
-เพื่อพัฒนามโนภาพเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ เช่น การบวก การลบ
-ให้เด็กรู้จักและใช้กระบวนการหาคำตอบ
-เพื่อให้เด็กฝึกฝนคณิตศาสตร์พื้นฐาน
-เพื่อให้เด็กมีความรู้ความเข้าใจ
-เพื่อให้เด็กค้นคว้าหาคำตอบ

     ทักษะพื้นฐาน

1.การสังเกต (Observation)
   -การใช้ประสาทสัมผัสอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหลายอย่างรวมกัน
   -การใช้ปฏิสัมพันธ์โดยตรงกับวัตถุสิ่งของหรือเหตุการณ์

2.จำแนกประเภท(Classifying)
   -การแบ่งประเภทสิ่งของโดยสร้างเกณฑ์ในการแบ่ง
   -เกณฑ์ในการจำแนกคือ ความเหมือน แตกต่าง หาความสัมพันธ์

3.การเปรียบเทียบ(Comparing)
   -เด็กต้องอาศัยความสัมพันธ์ของวัตถุสิ่งของหรือเหตุการณ์ตั้งแต่สองสิ่งขึ้นไป
   -เด็กจะต้องมีความเข้าใจเกี่ยวกับลักษณะเฉพาะของสิ่งนั้นๆ

4.การจัดลำดับ(Ordering)
   -เป็นทักษะการเปรียบเทียบขั้นสูง
   -เป็นการจัดลำดับวัตถุสิ่งของหรือเหตุการณ์

5.การวัด(Measurement)
   -มีความสัมพันธ์กับความสามารถในการอนุรักษ์
   -การวัดสำหรับเด็กปฐมวัย ได้แก่ อุณหภูมิ เวลา ระยะทาง ความยาว น้ำหนัก ปริมาณ
           
                 *การวัดของเด็กปฐมวัยไม่ใช้หน่วยมาตราฐานในการวัด*

6.การนับ(Counting)
   -เด็กชอบนับแบบท่องจำโดยไม่เข้าใจความหมาย
   -การนับแบบท่องจำนี้จะมีความหมายต่อเมื่อเชื่อมโยงกับจุดประสงค์บางอย่าง

7.รูปทรงและขนาด(Sharp and Size)
   -เด็กส่วนใหญ่จะมีความรู้เกี่ยวกับรูปทรงและขนาด ก่อนจะเข้าโรงเรียน

             คำศัพท์ทางคณิตศาสตร์

  • ตัวเลข             น้อย มาก มากกว่า ไม่มี ทั้งหมด
  • ขนาด              ใหญ่ กว้าง  สูง เตี้ย
  • รูปร่าง              วงกลม  สามเหลี่ยม สี่เหลี่ยม โค้ง สั้นกว่า
  • ที่ตั้ง                 บน ต่ำ ระยะทาง
  • ค่าของเงิน       สลึง หนึ่งบาท หนึ่งบาท ห้าบาท สิบบาท
  • ความเร็ว           เร็ว เดิน ช้า วิ่งคลาน
  • อุณหภูมิ            เดือด ร้อน อุ่น  เย็น   
  •    
    ขอบข่ายของหลักสูตรคณิตศาสตร์ในระดับปฐมวัย

       1.การนับ
       2.ตัวเลข
       3.การจับคู่
       4.การจัดประเภท
       5.การเปรียบเทียบ
       6.รูปร่างและพื้นที่
       7.การวัด
       8.การจัดลำดับ


    หลักการสอนคณิตศาสตร์ในระดับปฐมวัย

    -ให้เด็กเรียนจากประสบการณ์ตรงจากของจริง 
    -การสอนให้สอดคล้องกับใช้ชีวิตประจำวัน
    -เปิดโอกาศให้ค้นพบด้วยตัวเอง



    เพลง สวัสดียามเช้า

                                                                    ตื่นเช้าแปรงฟันล้างหน้า
                                                            อาบน้ำแล้วมาแต่งตัว
                                                            กินอาหารของดีมีทั่ว
                                                            หนูเตรียมตัวจะไปโรงเรียน

                                                                     สวัสดีคุณแม่คุณพ่อ
                                                            ไม่รีรอรีบไปโรงเรียน

                                             หลั่นล้า หลั่นลา หลั่นล่า หลั่น ลันลา หลั่นลา หลั่นล้า



    เพลง หนึ่งปีมีสิบสองเดือน

                                                                      หนึ่งปีนั้นมีสิบสอง
                                                                 อย่าลืมเลือนจำไว้ให้มั่น

                                                                     หนึ่งสัปดาห์นั้นมีเจ็ดวัน
                                                                     หนึ่งสัปดาห์นั้นมีเจ็ดวัน

                                                     อาทิตย์ จันทร์ อังคาร พุธ พฤหัส ศุกร์ เสาร์

                                                                         หลั่นลัน หลั่นล้า


                                              
    เพลง เข้าแถว

                                                                 เข้าแถว เข้าแถว
                                                            อย่าล้ำแนวยืนเรียงกัน
                                                            อย่ามัวแชเชือนเดินตามเพื่อนให้ทัน
                                                            ระวังเดินชนกันเข้าแถวพลันว่องไว


    วิธีการสอน

       -มีแบบฝึกหัดให้ทำก่อนเรียน
       -การอภิปรายถาม ตอบ
       -ใช้เทคโนโลยีมาเป็นสื่อในการสอน

    การประยุกต์ใช้
         นำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในการจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมพัฒนาการอย่างตรงจุดและรอบด้าน

    บรรยากาศในห้องเรียน
         มีแสงสว่างเพียงพอ โต๊ะเก้าอี้จัดว่างอย่างเป็นระเบียบ พื้นสะอาด วัสดุอุปกรณ์ในการเรียนการสอนครบ อากาศค่อนข้างเย็น

    ประเมิน
    ตนเอง=ตั้งใจฟังเวลาอาจารย์สอน ร่วมทำกิจกรรมที่อาจารย์สอดแทรกในการเรียนการสอน เข้าใจเนื้อหาที่อาจารย์สอน
    เพื่อน=ตั้งใจเรียน ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม ไม่คุยกัน ช่วยกันตอบคำถาม
    ครูผู้สอน=แต่งกายสุภาพ พูดเสียงดังฟังชัดเจน ร้องเพลงเพราะ มีวิธีการสอนที่สอดแทรกกิจกกรมที่ทำให้สนุกกับการเรียน

    วันอาทิตย์ที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2558

    ครั้งที่3

    บันทึกอนุทิน
    วัน พุธ ที่ 21 มกราคม 2558

    เนื้อหา

    พัฒนาการ คือ การเปลียนแปลงที่เป็นไปตามลำดับขั้นอย่างต่อเนื่อง เด็กแต่ละคนไม่เหมือนกัน อาจจะช้าหรือไวขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายๆอย่าง และเราก็จะรู้ว่าเด็กแต่ละคนทำอะไรได้บ้าง
    ประโยชน์ของพัฒนาการ 
    -จัดกิจกรรมให้กับเด็กได้อย่างเหมาะสม
    -รู้ความสามารถของเด็ก ว่าเด็กสามารถทำอะไรได้บ้าง
    -รู้ความแตกต่างระหว่างบุคคล

    พัฒนาการสมองสัมพันธ์กับพัฒนาการสติปัญญาอย่างไร?
         สมองเป็นเครื่องมือในการรับ สั่ง และควบคุม จะรับผ่านประสาทสัมผัส สมองจะทำให้พัฒนาการที่นำมาจัดให้เป็นลำดับขั้นตอน(Sensorimotor)

    ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับพัฒนาการทางสติปัญญาของเด็ก
    pearja
                                                     
                                                     ทฤษฎีทางสติปัญญาของเพียเจต์  
    • ทฤษฎีการเรียนรู้   
                      พัฒนาการทางสติปัญญาของบุคคลเป็นไปตามวัยต่าง ๆ เป็นลำดับขั้น ดังนี้

    1.   ขั้นประสาทรับรู้และการเคลื่อนไหว (Sensori-Motor Stage)  เริ่มตั้งแต่แรกเกิดจนถึง ปี พฤติกรรมของเด็กในวัยนี้ขึ้นอยู่กับการเคลื่อนไหวเป็นส่วนใหญ่
    2.   ขั้นก่อนปฏิบัติการคิด (Preoperational Stage)  เริ่มตั้งแต่อายุ 2-7 ปี แบ่งออกเป็นขั้นย่อยอีก ขั้น คือ
    ขั้นก่อนเกิดสังกัป (Preconceptual Thought) เป็นขั้นพัฒนาการของเด็กอายุ 2-4 ปี เป็นช่วงที่เด็กเริ่มมีเหตุผลเบื้องต้น สามารถจะโยงความสัมพันธ์ระหว่างเหตุการณ์2เหตุการณ์ 
     ขั้นการคิดแบบญาณหยั่งรู้ นึกออกเองโดยไม่ใช้เหตุผล (Intuitive Thought) เป็นขั้นพัฒนาการของเด็ก อายุ 4-7 ปี ขั้นนี้เด็กจะเกิดความคิดรวบยอดเกี่ยวกับสิ่งต่างๆ รวมตัวดีขึ้น รู้จักแยกประเภทและแยกชิ้นส่วนของ
    3.   ขั้นปฏิบัติการคิดด้านรูปธรรม (Concrete Operation Stage)  เริ่มจากอายุ 7-11 ปี พัฒนาการทางด้านสติปัญญาและความคิดของเด็กวัยนี้สามารถสร้างกฎเกณฑ์และตั้งเกณฑ์ในการแบ่งสิ่งแวดล้อมออกเป็นหมวดหมู่ได้
    4.   ขั้นปฏิบัติการคิดด้วยนามธรรม (Formal Operational Stage)   เริ่มจากอายุ 11-15 ปี ในขั้นนี้พัฒนาการทางสติปัญญาและความคิดของเด็กวัยนี้เป็นขั้นสุดยอด คือเด็กในวัยนี้จะเริ่มคิดแบบผู้ใหญ่  เด็กจะสามารถที่จะคิดหาเหตุผลนอกเหนือไปจากข้อมูลที่มีอยู่  

      

    ทฤษฎีทางสติปัญญาของบรูเนอร์

    บรุนเนอร์ (Bruner) เป็นนักจิตวิทยาที่สนใจและศึกษาเรื่องของพัฒนาการทางสติปัญญาต่อเนื่องจาก เพียเจต์ บรุนเนอร์เชื่อว่ามนุษย์เลือกที่จะรับรู้สิ่งที่ตนเองสนใจและการเรียนรู้ เกิดจากกระบวนการค้นพบด้วยตัวเอง (discovery learning) แนวคิดที่สำคัญ ๆ ของ บรุนเนอร์ มีดังนี้ 

    ทฤษฎีการเรียนรู้ 

    1.   ขั้นการเรียนรู้จากการกระทำ (Enactive Stage) คือ ขั้นของการเรียนรู้จากการใช้ประสาทสัมผัสรับรู้สิ่งต่าง ๆ การลงมือกระทำช่วยให้เด็กเกิดการเรียนรู้ดี การเรียนรู้เกิดจากการกระทำ 
    2.   ขั้นการเรียนรู้จากความคิด (Iconic Stage) เป็นขั้นที่เด็กสามารถสร้างมโนภาพในใจได้ และสามารถเรียนรู้จากภาพแทนของจริงได้ 
    3.   ขั้นการเรียนรู้สัญลักษณ์และนามธรรม (Symbolic Stage) เป็นขั้นการเรียนรู้สิ่งที่ซับซ้อนและเป็นนามธรรมได้



    ทฤษฎีทางสติปัญญาของไวก็อตสกี้

         ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเองเป็นทฤษฏีที่ให้ความสำคัญกับกระบวนการและวิธีการของบุคคลในการสร้างความรู้ความเข้าใจจากประสบการณ์ รวมทั้งโครงสร้างทางปัญญาและความเชื่อที่ใช้ในการแปลความหมายเหตุการณ์และสิ่งต่างๆ ซึ่งเป็นกระบวนการการเรียนรู้ที่เน้นให้ผู้เรียนผู้สร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง เพราะความรู้ไม่ใช่มาจากการสอนของครูหรือผู้สอนเพียงอย่างเดียว แต่ความรู้จะเกิดขึ้นและถูกสร้างขึ้นโดยผู้เรียนเองและการเรียนรู้จะเกิดขึ้นได้ดีก็ต่อเมื่อผู้เรียนได้ลงมือกระทำด้วยตนเอง (Learning by doing) นอกจากกระบวนการเรียนรู้จะเป็นกระบวนการปฏิสัมพันธ์ภายในสมองแล้ว ยังเป็นกระบวนการทางสังคมด้วย การสร้างความรู้จึงเป็นกระบวนการทั้งด้านสติปัญญาและสังคมควบคู่กันไป

    การเรียนรู้ คือ การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม โดยไม่มีที่สิ้นสุด
    ประโยชน์ของการเรียนรู้
         เพื่อให้อยู่รอด ช่วยเหลือตนเองได้ทุกๆสถานการณ์

    เด็กปฐมวัยมีการเรียนรู้อย่างไร?
         เด็กปฐมวัยเรียนรู้ผ่านการเล่น การได้ลงมือกระทำกับวัตถุ ได้คิดได้ทำในสิ่งที่สนใจ
    ประโชน์ในการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย
          การเล่นจะทำให้เด็กไม่เบื่อ เขาไม่รู้เลยว่าการที่เขาเล่นนั้นแหล่ะ มันคือการเรียนรู้

    วิธีการสอน
    -มีแบบฝึกหัดให้ทำก่อนเรียน
    -การอภิปรายถาม ตอบ
    -ใช้เทคโนโลยีมาเป็นสื่อในการสอน

    การประยุกต์ใช้
         นำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในการจัดกิจกรรมอย่างเหมาะสมและรอบด้าน

    บรรยากาศในห้องเรียน
         มีแสงสว่างเพียงพอ โต๊ะเก้าอี้จัดว่างอย่างเป็นระเบียบ พื้นสะอาด วัสดุอุปกรณ์ในการเรียนการสอนครบ อากาศค่อนข้างเย็น

    ประเมิน
    ตนเอง=ตั้งใจเรียน ตั้งใจฟังอาจารย์สอน มีการจดบันทึกย่อเป็นระยะๆ เข้าใจเนื้อหาที่อาจารย์สอน
    เพื่อน=ตั้งใจเรียน ให้ความร่วมมือในการตอบคำถามอาจารย์
    ครูผู้สอน=แต่งกายสุภาพ พูดเสียงดังฟังชัด สั่งงานชัดเจน สอนให้เข้าใจง่ายขึ้น