Large Rainbow Pointer Large Rainbow Pointer

วันอังคารที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2558

สรุปการวิจัย


การจัดการเรียนรู้แบบเด็กนักวิจัยที่มีผลต่อทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย


ชื่องานวิจัย- การจัดการเรียนรู้แบบเด็กนักวิจัยที่มีผลต่อทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย
ชื่อผู้วิจัย- ศิริลักษณ์ วุฒิสรรพ์
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

จุดมุ่งหมายของงานวิจัย
     1.เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์โดยรวมของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบเด็กวิจัย
     2.เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์รายด้านของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบเด็กวิจัย

ความสำคัญของงานวิจัย
     การวิจัยในครั้งนี้ ผู้วิจัยได้นำรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบเด็กวิจัย มาใช้ในการจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัยเพื่อเปิดโอกาสให้เด็กได้พัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ ผลการวิจัยในครั้งนี้จะเป็นแนวทางให้กับครูและผู้เกี่ยวข้อง นำไปใช้พัฒนาเด็กปฐมวัยให้มีความพร้อมทางด้านคณิตศาสตร์ในระดับปฐมวัยและพัฒนาทักษะที่เป็นพื้นฐานในการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ในระดับชั้นที่สูงขึ้นต่อไป และนำไปปรับใช้ เชื่อมโยงกับทักษะอื่นๆต่อไป

ขอบเขตของการวิจัย
     ประชากรที่ใช้ในการวิจัย
          ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนชาย-หญิง อายุ 5-6 ปี ที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นอนุบาลปีที่2 ภาคเรียนที่1 ปีการศึกษา 2551 โรงเรียนบ้านสามแยก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากำแแพงเพชร เขต2 
     
     ตัวแปรที่ศึกษา
          1.ตัวแปรจัดกระทำ คือ การจัดการเรียนรู้แบบเด็กวิจัย
          2.ตัวแปรตาม คือ ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย

     ระยะเวลาในการทดลอง
          ในการทดลองครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ทดลองโดยใช้ระยะเวลาในการทดลอง 8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 4 วัน รวมทั้งสิ้น 32 ครั้ง

นิยามศัพท์เฉพาะ
     เด็กปฐมวัย หมายถึง นักเรียนชาย-หญิง อายุ 5-6 ปี ที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นอนุบาลปีที่2 ภาคเรียนที่1 ปีการศึกษา 2551 โรงเรียนบ้านสามแยก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากำแแพงเพชร เขต2 
     การจัดการเรียนรู้แบบเด็กวิจัย หมายถึง การจัดการเรียนรู้ที่ผสมผสานวิธีการสอน การเรียน การประเมินและการแนะแนวให้ควบคู่กลมกลืนเป็นกระบวนการเดียวกันในชั้นเรียน โดยให้เน้นเด็กเป็นศูนย์กลางของการเรียนรู้ ด้วยการให้เด็กเรียนรู้ด้วยวิธีการวิจัย ซึ่งผู้เรียนจะได้เรียนรู้ในเรื่องที่ตนเองสนใจ ได้ลงมือศึกษาค้นคว้า แสวงหาความรู้ ความจริงตามความสนใจ
     ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ หมายถึง ความสามารถเบื้องต้นที่เป็นพื้นฐานของการเรียนรู้คณิตศาสตร์ในระดับสูงขึ้นต่อไป ซึ่งประกอบด้วย การจำแนกประเภท การเปรียบเทียบการรู้ค่าจำนวนและตัวเลข การเพิ่ม-การลด

สมมติฐานในการวิจัย
     เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบเด็กนักวิจัยมีพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ในแต่ละทักษะสูงขึ้นกว่าก่อนการทดลอง

วิธีดำเนินการวิจัย
     1.การกำหนดประชากรและการเลือกกลุ่มตัวอย่าง
     2.เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
     3.การสร้างเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
     4.แบบแผนการทดลองและวิธีดำเนินการทดลอง
     5.การเก็บรวบรวมข้อมูล
     6.การจัดกระทำและการวิเคราะห์ข้อมูล

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
     1.แผนการจัดการเรียนรู้แบบเด็กวิจัย
     2.แบบประเมินเชิงปฏิบัติทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย

สรุปผลการวิจัย
     1.ค่าเฉลี่ยทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ก่อนและหลังการทดลองแตกต่างกันอย่างชัดเจน และการทดลองครั้งนี้ส่งผลต่อทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์โดยรวมดีมาก
     2.ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์แยกรายด้าน ทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้ได้ดี และมีทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สูงขึ้น


  

สรุปบทความ




 "การส่งเสริมทักษะคณิตศาสตร์ให้เด็กจากที่บ้าน ยังเป็นการสร้างทัศนคติที่ดีต่อคณิตศาสตร์ด้วย ทำให้เห็นว่าเป็นเรื่องทั่วไปที่มีอยู่ในชีวิตประจำวัน และนำมาเล่นสนุกกันได้ ไม่ใช่เรื่องวิชาการเพียงอย่างเดียวเท่านั้น ซึ่งก็จะทำให้เด็กสนใจและรู้สึกอยากเรียนคณิตศาสตร์มากขึ้น"เป็นการประเมินได้ด้วยว่าเด็กๆ ได้ความรู้จากที่โรงเรียนมากน้อยแค่ไหน ซึ่งเนื้อหาเรียนได้จากที่โรงเรียน แต่ที่บ้านคือการนำมาใช้จริง
       
       อย่างไรก็ตาม คณิตศาสตร์มีความเป็นนามธรรม มากกว่าวิชาอื่นๆ เพราะฉะนั้นคุณครู จึงควรมีทักษะที่สามารถดึงสิ่งที่ซ่อนอยู่ในคณิตศาสตร์ ออกมานำเสนอให้เด็กสนใจได้ ส่วนผู้ปกครองก็ไม่ควรปล่อยให้การเรียนการสอนเป็นหน้าที่ของโรงเรียนเพียงอย่างเดียว และควรปรับเปลี่ยนทัศนคติต้องไม่คิดว่าตนเองเคยเรียนมาอย่างไร ลูกก็ต้องเรียนอย่างนั้นด้วยเหมือนกัน
       
       ผู้ปกครองควรจะติดตามความก้าวหน้า ของหลักสูตรการเรียนการสอนในปัจจุบันด้วย เพื่อที่จะได้เสริมทักษะให้ลูกหลานได้ถูกต้อง ซึ่งเดี๋ยวนี้มีสื่อและเทคโนโลยีการเรียนการสอนที่น่าสนใจให้เลือกมากมาย ทั้งจากหนังสือ คอมพิวเตอร์ หรือของหน่วนงานต่างๆ ผู้ปกครองต้องหมั่นค้นหาเพิ่มเติม และนำมาสอนลูกหลานด้วยตัวเอง ก็จะช่วยเพิ่มทักษะของเด็กได้มากขึ้น.

วันอาทิตย์ที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2558

ครั้งที่2

บันทึกอนุทิน
วัน พุธ ที่ 14 มกราคม 2558



เนื้อหา                                                                                                                    

ความรู้พื้นฐานทางคณิตศาสตร์
1.ความหมาย
   คณิตศาสตร์เป็นศาสตร์ที่เกี่ยวกับตัวเลขและการคำนวนเป็นวิชาที่มีความสำคัญกับชีวิตประจำวันของทุกคนรวมไปถึงอาชีพล้วนมีคณิตศาสตร์เข้ามาเกี่ยวข้องในอาชีพ ซึ่งเด็กปฐมวัยจะเรียนคณิตศาสตร์ไม่ใช่แต่ตัวเลข เด็กจะเรียนรู้ด้วยการสังเกต เปรียบเทียบจำนวน สั้น ยาว ,สูง ต่ำ เป็นต้น

2.ความสำคัญ
    คณิตศาสตร์เป็นวิชาความรู้ที่เกี่ยวกับการคิดและพิสูจน์อย่างมีเหตุผล เป็นภาษาอย่างหนึ่งที่ใช้สัญลักษณ์สื่อความหมายอย่างรัดกุมและถูกต้อง นอกจากนี้ยังสามารถฝึกไหวพริบปฏิภาณต่างๆ มีขั้นตอนการเรียนรู้ตามแบบแผนและยังเป็นเครื่องมือในการส่งเสริมกระบวนการคิดและแก้ปัญหาในชีวิตประจำวัน

3.ทักษะพื้นฐาน
    คณิตศาสตร์เป็นกระบวนการคิดและพัฒนาด้านต่างๆ โดยคำนึงถึงความเหมาะสมตามพัฒนาการของเด็ก เพื่อพัฒนาทักษะทางคณิตศาสตร์อย่างมีประสิทธิภาพโดยมีกรอบมาตราฐานของ สสวท. ดังนี้
-จำนวนและการดำเนินการ
-การวัด
-เรขาคณิต
-พีชคณิต
-การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น

4.ประโยชน์
    -เด็กสามารถรับรู้เกี่ยวกับเรื่องของการจำแนกออกเป็นหมวดหมู่ตามลักษณะของมันได้
    -สามารถนำเอาไปใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น การซื้อขายสินค้า การบอกเวลา เป็นต้น
    -สามารถนำไปจัดเกมการศึกษา เช่น จับคู่รูปร่าง จับคู่จำนวน เป็นต้น
   
วิธีการสอน

        สอนแบบบรรยาย
        สอนโดยการให้ศึกษาด้วยตนเอง
        สอนโดยให้นำเสนองานหน้าชั้นเรียน

การประยุกต์ใช้

       นำความรู้ที่ได้ไปจัดกิจกรรมให้กับเด็กเพื่อให้เด็กเข้าใจเกี่ยวกับค่าของตัวเลข ผ่านกิจกรรมต่างๆ เช่น เกมการศึกษา เกมจับคู่ เป็นต้น

บรรยากาศในห้องเรียน

        แสงสว่างเพียงพอ โต๊ะเก้าอี้จัดวางอย่างเป็นระเบียบในตอนแรก พออาจารย์ให้ทำกิจกรรมจึงนำโต๊ะเก้าอี้มาวางเป็นกลุ่ม ทำกิจกรรมเสร็จก็จัดโต๊ะเก้าอี้เหมือนเดิม อากาศเย็น  

ประเมิน

       ตนเอง-ตั้งใจเรียน ร่วมทำกิจกรรมและงานที่ได้รับมอบหมายอย่างเต็มที่ ไม่เข้าใจบางเรื่อง
       เพื่อน-ให้ความร่วมมือในการเรียนการสอน ร่วมตอบคำถาม และนำเสนองานหน้าชั้นเรียน
       ครูผู้สอน-การแต่งกายดี แก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้เป็นอย่างดี พูดเสียงดังฟังชัด แต่บางครั้งสั่งงาน                             แล้วนักศึกษาไม่ค่อยเข้าใจ