Large Rainbow Pointer Large Rainbow Pointer

วันอังคารที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2558

สรุปการวิจัย


การจัดการเรียนรู้แบบเด็กนักวิจัยที่มีผลต่อทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย


ชื่องานวิจัย- การจัดการเรียนรู้แบบเด็กนักวิจัยที่มีผลต่อทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย
ชื่อผู้วิจัย- ศิริลักษณ์ วุฒิสรรพ์
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

จุดมุ่งหมายของงานวิจัย
     1.เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์โดยรวมของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบเด็กวิจัย
     2.เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์รายด้านของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบเด็กวิจัย

ความสำคัญของงานวิจัย
     การวิจัยในครั้งนี้ ผู้วิจัยได้นำรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบเด็กวิจัย มาใช้ในการจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัยเพื่อเปิดโอกาสให้เด็กได้พัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ ผลการวิจัยในครั้งนี้จะเป็นแนวทางให้กับครูและผู้เกี่ยวข้อง นำไปใช้พัฒนาเด็กปฐมวัยให้มีความพร้อมทางด้านคณิตศาสตร์ในระดับปฐมวัยและพัฒนาทักษะที่เป็นพื้นฐานในการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ในระดับชั้นที่สูงขึ้นต่อไป และนำไปปรับใช้ เชื่อมโยงกับทักษะอื่นๆต่อไป

ขอบเขตของการวิจัย
     ประชากรที่ใช้ในการวิจัย
          ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนชาย-หญิง อายุ 5-6 ปี ที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นอนุบาลปีที่2 ภาคเรียนที่1 ปีการศึกษา 2551 โรงเรียนบ้านสามแยก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากำแแพงเพชร เขต2 
     
     ตัวแปรที่ศึกษา
          1.ตัวแปรจัดกระทำ คือ การจัดการเรียนรู้แบบเด็กวิจัย
          2.ตัวแปรตาม คือ ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย

     ระยะเวลาในการทดลอง
          ในการทดลองครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ทดลองโดยใช้ระยะเวลาในการทดลอง 8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 4 วัน รวมทั้งสิ้น 32 ครั้ง

นิยามศัพท์เฉพาะ
     เด็กปฐมวัย หมายถึง นักเรียนชาย-หญิง อายุ 5-6 ปี ที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นอนุบาลปีที่2 ภาคเรียนที่1 ปีการศึกษา 2551 โรงเรียนบ้านสามแยก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากำแแพงเพชร เขต2 
     การจัดการเรียนรู้แบบเด็กวิจัย หมายถึง การจัดการเรียนรู้ที่ผสมผสานวิธีการสอน การเรียน การประเมินและการแนะแนวให้ควบคู่กลมกลืนเป็นกระบวนการเดียวกันในชั้นเรียน โดยให้เน้นเด็กเป็นศูนย์กลางของการเรียนรู้ ด้วยการให้เด็กเรียนรู้ด้วยวิธีการวิจัย ซึ่งผู้เรียนจะได้เรียนรู้ในเรื่องที่ตนเองสนใจ ได้ลงมือศึกษาค้นคว้า แสวงหาความรู้ ความจริงตามความสนใจ
     ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ หมายถึง ความสามารถเบื้องต้นที่เป็นพื้นฐานของการเรียนรู้คณิตศาสตร์ในระดับสูงขึ้นต่อไป ซึ่งประกอบด้วย การจำแนกประเภท การเปรียบเทียบการรู้ค่าจำนวนและตัวเลข การเพิ่ม-การลด

สมมติฐานในการวิจัย
     เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบเด็กนักวิจัยมีพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ในแต่ละทักษะสูงขึ้นกว่าก่อนการทดลอง

วิธีดำเนินการวิจัย
     1.การกำหนดประชากรและการเลือกกลุ่มตัวอย่าง
     2.เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
     3.การสร้างเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
     4.แบบแผนการทดลองและวิธีดำเนินการทดลอง
     5.การเก็บรวบรวมข้อมูล
     6.การจัดกระทำและการวิเคราะห์ข้อมูล

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
     1.แผนการจัดการเรียนรู้แบบเด็กวิจัย
     2.แบบประเมินเชิงปฏิบัติทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย

สรุปผลการวิจัย
     1.ค่าเฉลี่ยทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ก่อนและหลังการทดลองแตกต่างกันอย่างชัดเจน และการทดลองครั้งนี้ส่งผลต่อทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์โดยรวมดีมาก
     2.ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์แยกรายด้าน ทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้ได้ดี และมีทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สูงขึ้น


  

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Large Rainbow Pointer