Large Rainbow Pointer Large Rainbow Pointer

วันเสาร์ที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

ครั้งที่15

บันทึกอนุทิน

  ประจำวันที่ 1 พฤษภาคม 2558


  สรุปการเรียนรายวิชาการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์เด็กปฐมวัย



         จากการเรียนการสอนในรายวิชาการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ทำให้ได้รู้
อะไรเพิ่มเติมมากมายจากสิ่งที่อาจารย์ได้สอนและแนะนำ ไม่ว่าจะเป็นเทคนิค และการบูรณาการ ต่างๆ
คณิตศาสตร์ก็มีความสำคัญและการเรียนรู้ก็อยู่รอบๆตัวเด็ก ซึ้งเป็นการเรียนการสอนที่ง่าย   วิชานี้ทำให้ได้เรียนรู้เพิ่มเติมเช่น การดูเวลาและการลงชื่อเด็ก,การให้เด็กได้ลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง,การนำป้ายชื่อมาติดเพื่อเรียนรู้คณิตศาตร์จากนาฬิกา  เวลา การมาก่อน-หลัง การนับจำนวนเพื่อนในห้อง ทำให้เรียนรู้สิ่งต่างๆได้มากยิ่งขึ้น และอาจารย์ผู้สอนยังสอดแทรกเทคนิคการสอนต่างๆ  เช่น การร้องเพลง แต่งเพลง นิทาน เกม คำคล้องจอง ฯลฯ  และยังได้รู้เกียวกับการเขียนแผนการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์ และได้ลองฝึกสอน อาจารย์ก็ให้คำแนะนำดีๆ ที่ควรนำไปใช้ และคณิตศาสตร์ยังมีการนำไปบูรณาการในการเรียนการสอนแบบอื่นๆอีก เช่น การสอนแบบโครงการ,การสอนแบบสตอรี่ไลน์(เดินเรื่อง), การสอนแบบSTEM,การสอนแบบบูรณาการ,การสอนแบบสมองเป็นฐานและ การสอนแบบมอนเตสซอรี่ และเรื่องที่ขาดไม่ได้เลยคือสาระมาตรฐานและการเรียนรู้คณิตศาสตร์ของเด็กฐมวัยทั้ง6สาระ ได้แก่
สาระที่1  จำนวนและการดำเนินการ
สาระที่2  การวัด
สาระที่3  เรขาคณิต
สาระที่4  พีชคณิต
สาระที่5  การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
สาระที่6  ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์
       ขอขอบคุณอาจารย์ประจำวิชาที่เคารพ ที่ได้ให้คำแนะนำทั้งเรื่องวิชาการและเรื่องของคุณธรรม จริยธรรม คือในเรื่องของการมีระเบียบวินัย การตรงต่อเวลา มารยาทในห้องเรียนและนอกห้องเรียน และดิฉันจะนำสิ่งที่อาจารย์สอนไปใช้ในการเรียนการสอนในภายภาคหน้า * ขอบคุณค่ะ *



ครั้งที่14

 บันทึกอนุทิน


  ประจำวันที่ 1 พฤษภาคม 2558

เนื้อหา


อาจารย์และนักศึกษาร่วมกันสรุปเนื้อหาทั้งหมดที่เรียนมา


 มาตราฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์ 
     การสอนตามแผนการจัดประสบการณ์
          - หาเรื่องที่จะสอน
          - วิเคราะห์สาระของหลักสูตร (ประเด็นไหนสำคัญกับเด็ก)
             สาระที่ควรเรียนรู้
             1.เรื่องราวเกี่ยวกับตัวเด็ก
             2.เรื่องราวเกี่ยวกับบุคคล และสถานที่แวดล้อมเด็ก
             3.ธรรมชาติรอบตัวเด็ก
             4.สิ่งต่างๆรอบตัวเด็ก
          - หาข้อมูล
          - ทำ mind mapping
          - ดูประสบการณ์สำคัญ (ด้านสติปัญญา)
          - สาระกรอบมาตราฐานคณิตศาสตร์

การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์ปฐมวัย จะบูรณาการ
       1.ภาษา,สุขศึกษา,สังคม,ศาสนา,คุณธรรมจริยธรรม,วิทยาศาสตร์,พลศึกษา,ดนตรี ฯลฯ
       2.พัฒนาการทั้ง 4ด้าน คือ
                1. ด้านร่างกาย
                2. ด้านอามรณ์-จิตใจ
                3. ด้านสังคม
                4. ด้านสติปัญญา
        3.บูรณาการกิจกรรมทั้ง 6 กิจกรรม คือ
                1. กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ
                2. กิจกรรมเสริมประสบการณ์
                3. กิจกรรมเสรี
                4. กิจกรรมกลางแจ้ง
                5. กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์
                6. เกมการศึกษา

เทคนิคและวิธีการสอน

  • นิทาน
  • เพลง
  • เกม
  • คำคล้องจอง
  • สื่อ

การจัดลำดับ
      1. ขั้นนำ
      2. ขั้นสอน
      3. ขั้นสรุป

การประเมิน
       สังเกต เครื่องมือ คือ แบบบันทึก
       สนทนา เครื่องมือ คือ แบบบันทึก
       ชิ้นงาน เครื่องมือ คือ แบบประเมิน

การร่วมมือของผู้ปกครอง

  • ให้เด็กมีส่วนร่วมในการไปจ่ายตลาด
  • ให้เด็กมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมในบ้าน
  • การอ่านป้ายทะเบียนรถ การบวกเลขทะเบียนรถ
  • ให้เด็กมีส่วนร่วมในการจัดของเข้าที่ (การจักหมวดหมู่)  
การใช้สื่อ

  • ใช้ของจริง
  • ใช้ของที่มี เช่น ถ้าจะใช้ผลไม้ ก็ควรใช้ผลไม้ตามฤดูกาล
  • ใช้ของที่หาง่าย
-การใช้เกณฑ์ที่เป็นเกณฑ์เดียวกัน (มีเกณฑ์เดีย)
-การคิดหลายรูปแบบ
-เกมการศึกษา

  1. จับคู่
  2. โดมิโน่
  3. จิ๊กซอ
  4. บวกเลขพื้นฐาน
  5. ความสัมพันธ์สองแกน
  6. เรียงลำดับ
  7. การศึกษารายละเอียดของภาพ ( Lotto )




วิธีการสอน

   - อภิปราย ถาม ตอบ 
   - ใช้เทคโนโลยีมาเป็นสื่อในการสอน
   - อธิบายและยกตัวอย่าง

การประยุกต์ใช้

     นำความรู้ ความเข้าใจที่ได้รับไปใช้ให้เกิดประโยชน์มากในเรื่องการจัดประสบการณ์เพื่อส่งเสริมสาระและมาตรฐาน และเกมการศึกษา  และยังสามารถนำเทคนิคที่ได้เรียนรู้ในครั้งนี้ไปใช้ในการจัดการเรียนการสอน

บรรยากาศในห้องเรียน

     มีแสงสว่างเพียงพอ โต๊ะเก้าอี้จัดว่างอย่างเป็นระเบียบ พื้นสะอาด วัสดุอุปกรณ์ในการเรียนการสอนครบ อากาศค่อนข้างเย็น

ประเมิน

ตนเอง=ตั้งใจฟังเวลาอาจารย์สอน เข้าเนื้อหาที่อาจารย์สอน เพราะอาจารย์ยกตัวอย่าง ทำให้เข้าใจมาก             ขึ้นอีก  
เพื่อน=ตั้งใจเรียน และสรุปร่วมกัน
ครูผู้สอน=แต่งกายสุภาพ พูดเสียงดังฟังชัดเจน จังหวะการพูดดี น่าฟัง อธิบายได้อย่างชัดเจน

สรุปโทรทัศน์ครู






สร้างพื้นฐานการเรียนรู้กับกิจกรรม 5ประสาทสัมผัส

คุณครูเด่นดวง ธรรมทวี    โรงเรียนบ้านสำโรงเกียรติ  จังหวัดศรีสะเกษ

                 การจัดการเรียนการสอนของปฐมวัยเป็นการเตรียมความพร้อมให้กับเด็กในทุกๆด้าน เช่น ด้านร่างกาย ด้านอารมณ์จิตใจ ด้านสังคม และด้านสติปัญญา 

             ขั้นตอนที่1ของการใช้ประสาทสัมผัสทั้ง5 คือ การมอง
เมื่อเด็กได้เห็นของจริง เด็กๆก็จะซึมซับรับเอาจากประสาทสัมผัสโดยการมองขนาดของรูปทรงว่าอันไหน ขนาดใหญ่ ขนาดเล็ก
ครูจะปล่อยให้เด็กๆเรียนรู้จากการมอง แยกแยะขนาดและความหนาบางของวัตถุด้วยตนเอง เพื่อสร้างประสบการณ์ตรงให้กับนักเรียน
พอเล่เกมเราจะเห็นว่าเด็กๆใช้สายตาในการคาดคะเน มองกระบอกพิมว่าส่วนนี้จะไปใส่ในช่องไหน เด็กเกิดการเรียนรู้โดยการคาดคะเน

             ขั้นที่2 คือ ประสาทสัมผัสทางด้านหู คือ การฟัง
การฟังเราก็จะมีเสียงที่ไม่เหมือนกัน การฟังจากกล่องเสียงจะมาเขย่าให้เด็กฟัง เสียงที่ดังที่สุดไปหาเสียงที่เบาที่สุด
เด็กก็จะเอามาเทียบเคียงจับคู่ เสียงดังขนาดนี้เด็กก็นำไปจับคู่กับอีกกล่องเสียงที่มีเสียงเท่ากัน เสียงดังจนถึงเสียงเบา
นอกจากกระบอกเสียงก็ยังมีการนำเปลือกหอยซึ่งเป็นวัสดุจากธรรมชาติ 

           ขั้นที่ คือ การสัมผัส การใช้มือสัมผัสสิ่งต่างๆ
การเรียนรู้เรื่องการสัมผัส คุณครูจะจัดกิจกรรมให้เด็กๆได้สัมผัสวัตถุจริงๆ โดยเริ่มต้นจากรูปทรงเลขาคณิตไปจนถึงเนื้อผ้าที่มีความละเอียดแตกต่างกัน เพื่อให้เด็กๆได้เรียนรู้มีเสียงเท่ากัน เสียงดังจนถึงเสียงเบา

นอกจากกระบอกเสียงก็ยังมีการนำเปลือกหอยซึ่งเป็นวัสดุจากธรรมชาติ 

          ขั้นที่ 4 คือ การดมกลิ่น
เด็กๆจะรู้เพียงว่า กลิ่นหอม กลิ่นเหม็น เป็นอย่างไร
เด็กๆได้พิสูจน์ในการดมกลิ่นแล้วเด็กๆสามารถบอกคุณครูได้ว่า กลิ่นนี้หอม กลิ่นนี้เหม็น หรือกลิ่นอะไร
เด็กๆจะได้เรียนรู้ผ่านประสาทสัมผัสของตนเองโดยวิธีการดม เพื่อให้เด็กๆเกิดการเรียนรู้เรื่องกลิ่น หลังจากที่เด็กตอบถูกแล้ว เราก็จะให้เด็ก นำกลิ่นนั้นมาจับคู่ การที่เด็กจับคู่ได้ถูกต้อง เกิดจากการใช้ประสาทการรับรู้ ในเรื่องการดมกลิ่น
คุณครูจะให้เด็กๆลองจับคู่กลิ่นที่ตนเองได้ดมไป เพื่อเป็นการทดสอบความเข้าใจในการใช่ประสาทสัมผัส การดมกลิ่น

          ขั้นที่ 5  ก็คือ การชิมรส
จะมีรสหลักๆให้อยู่4รส รสเค็ม รสเปรี้ยว รสหวาน รสขม คุณครูจะนำน้ำที่ผสมแล้ว เพื่อมาสอนเรื่องรสชาติต่างๆ เช่น น้ำเชื่อม น้ำมะนาว ให้เด็กๆได้เรียนรู้กัน เราจะเห็นได้ว่า เด็กจดจำรสชาติ แล้วไปเปรียบเทียบกับประสบการณ์เดิมที่เคยสัมผัสรับรู้มา

นอกจากกระบอกเสียงก็ยังมีการนำเปลือกหอยซึ่งเป็นวัสดุจากธรรมชาติ

                                *** หัวใจสำคัญของการเรียนรู้ด้วยประสาทสัมผัสทั้ง5ก็เพื่อให้เด็กได้
                                             เตรียมความพร้อมที่จะเรียนในชั้นที่สูงต่อไป ***

วันศุกร์ที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

ครั้งที่13

 บันทึกอนุทิน

  ประจำวันที่ 27 เมษายน 2558

เนื้อหา

           -นักศึกษาสรุปความรู้
                       
ประเด็นที่อาจารย์สรุปให้










วิธีการสอน

   -ให้นักศึกษาทำแบบประเมินความรู้
   
การประยุกต์ใช้

     นำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในการจัดกิจกรรมให้กับเด็กได้ตรงตามสาระ และ มาตราฐานที่เด็กควรได้รับอย่างถูกต้องและเหมาะสม

บรรยากาศในห้องเรียน

     อากาศดี เย็นสบาย

ประเมิน

ตนเอง=ได้ทำแบบประเมินเพื่อวัดความรู้ของตนเอง
เพื่อน=ตั้งใจทำงานที่ได้รับมอบหมาย
ครูผู้สอน=อธิบายได้อย่างชัดเจนและเข้าใจง่าย



ครั้งที่12

 บันทึกอนุทิน
  ประจำวันที่ 23 เมษายน 2558

เนื้อหา

นักศึกษาสอบสอนตามแผนการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์







การจัดประสบการณ์คณิตศาตร์ เรื่อง  ส้ม

ขั้นนำ

1.ร้องเพลงชนิดของส้ม

ขั้นสอน

2.ถามเเด็กว่าในเนื้อเพลง มีส้มชนิดใดบ้าง?
3.ถามเด็กว่า เด็กๆรู้จักส้มชนิดใดบ้างที่นอกเหนือจากเนื้อเพลง
4.ครูนำส้มมาโดยใช้ผ้าคลุมส้มทั้งหมด และให้เด็กออกมาหยิบส้มมาวางเรียงเพื่อนับและบอกจำนวน
5.ให้เด็กหยิบส้มจีนออกจากกลุ่มที่ไม่ใช่ส้มจีนและเปรียบเทียบกับกลุ่มที่ไม่ใช่ส้มจีน ว่ากลุ่มใดมีมากว่า       หรือน้อยกว่ากัน
6.ให้เด็กหยิบส้มจีนกับส้มที่ไม่ใช่ส้มจีนแบบหนึ่งต่อหนึ่ง กลุ่มไหนหมดก่อนแสดงว่ามีจำนวนน้อยกว่า         และกลุ่มไหนเหลือแสดงว่ามีจำนวนมากกว่า

ขั้นสรุป

7.ครูและเด็กทบทวนชื่อของส้มแต่ละชนิด และร่วมกันร้องเพลงชนิดของส้ม




วิธีการสอน
   -ให้นักศึกษาสอบสอนตามแผนการจัดประสบการณ์คณิตศาตร์
   
การประยุกต์ใช้
     นำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในการจัดกิจกรรมในการเรียนการสอน ได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม

บรรยากาศในห้องเรียน
     มีแสงสว่างเพียงพอ อากาศแจ่มใส (สอนนอกห้องเรียน)

ประเมิน
ตนเอง=ได้ฝึกสอบสอน กล้าแสดงออก ตั้งใจทำผลงานให้ออกมาดีที่สุด
เพื่อน=ตั้งใจเรียน ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม 
ครูผู้สอน=แต่งกายสุภาพ พูดเสียงดังฟังชัดเจน จังหวะการพูดดี น่าฟัง มีการแนะนำเทคนิคการสอนที่                      สามารถนำไปใช้ได้เป็นอย่างดี