Large Rainbow Pointer Large Rainbow Pointer

วันอาทิตย์ที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2558

ครั้งที่3

บันทึกอนุทิน
วัน พุธ ที่ 21 มกราคม 2558

เนื้อหา

พัฒนาการ คือ การเปลียนแปลงที่เป็นไปตามลำดับขั้นอย่างต่อเนื่อง เด็กแต่ละคนไม่เหมือนกัน อาจจะช้าหรือไวขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายๆอย่าง และเราก็จะรู้ว่าเด็กแต่ละคนทำอะไรได้บ้าง
ประโยชน์ของพัฒนาการ 
-จัดกิจกรรมให้กับเด็กได้อย่างเหมาะสม
-รู้ความสามารถของเด็ก ว่าเด็กสามารถทำอะไรได้บ้าง
-รู้ความแตกต่างระหว่างบุคคล

พัฒนาการสมองสัมพันธ์กับพัฒนาการสติปัญญาอย่างไร?
     สมองเป็นเครื่องมือในการรับ สั่ง และควบคุม จะรับผ่านประสาทสัมผัส สมองจะทำให้พัฒนาการที่นำมาจัดให้เป็นลำดับขั้นตอน(Sensorimotor)

ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับพัฒนาการทางสติปัญญาของเด็ก
pearja
                                                 
                                                 ทฤษฎีทางสติปัญญาของเพียเจต์  
  • ทฤษฎีการเรียนรู้   
                  พัฒนาการทางสติปัญญาของบุคคลเป็นไปตามวัยต่าง ๆ เป็นลำดับขั้น ดังนี้

1.   ขั้นประสาทรับรู้และการเคลื่อนไหว (Sensori-Motor Stage)  เริ่มตั้งแต่แรกเกิดจนถึง ปี พฤติกรรมของเด็กในวัยนี้ขึ้นอยู่กับการเคลื่อนไหวเป็นส่วนใหญ่
2.   ขั้นก่อนปฏิบัติการคิด (Preoperational Stage)  เริ่มตั้งแต่อายุ 2-7 ปี แบ่งออกเป็นขั้นย่อยอีก ขั้น คือ
ขั้นก่อนเกิดสังกัป (Preconceptual Thought) เป็นขั้นพัฒนาการของเด็กอายุ 2-4 ปี เป็นช่วงที่เด็กเริ่มมีเหตุผลเบื้องต้น สามารถจะโยงความสัมพันธ์ระหว่างเหตุการณ์2เหตุการณ์ 
 ขั้นการคิดแบบญาณหยั่งรู้ นึกออกเองโดยไม่ใช้เหตุผล (Intuitive Thought) เป็นขั้นพัฒนาการของเด็ก อายุ 4-7 ปี ขั้นนี้เด็กจะเกิดความคิดรวบยอดเกี่ยวกับสิ่งต่างๆ รวมตัวดีขึ้น รู้จักแยกประเภทและแยกชิ้นส่วนของ
3.   ขั้นปฏิบัติการคิดด้านรูปธรรม (Concrete Operation Stage)  เริ่มจากอายุ 7-11 ปี พัฒนาการทางด้านสติปัญญาและความคิดของเด็กวัยนี้สามารถสร้างกฎเกณฑ์และตั้งเกณฑ์ในการแบ่งสิ่งแวดล้อมออกเป็นหมวดหมู่ได้
4.   ขั้นปฏิบัติการคิดด้วยนามธรรม (Formal Operational Stage)   เริ่มจากอายุ 11-15 ปี ในขั้นนี้พัฒนาการทางสติปัญญาและความคิดของเด็กวัยนี้เป็นขั้นสุดยอด คือเด็กในวัยนี้จะเริ่มคิดแบบผู้ใหญ่  เด็กจะสามารถที่จะคิดหาเหตุผลนอกเหนือไปจากข้อมูลที่มีอยู่  

  

ทฤษฎีทางสติปัญญาของบรูเนอร์

บรุนเนอร์ (Bruner) เป็นนักจิตวิทยาที่สนใจและศึกษาเรื่องของพัฒนาการทางสติปัญญาต่อเนื่องจาก เพียเจต์ บรุนเนอร์เชื่อว่ามนุษย์เลือกที่จะรับรู้สิ่งที่ตนเองสนใจและการเรียนรู้ เกิดจากกระบวนการค้นพบด้วยตัวเอง (discovery learning) แนวคิดที่สำคัญ ๆ ของ บรุนเนอร์ มีดังนี้ 

ทฤษฎีการเรียนรู้ 

1.   ขั้นการเรียนรู้จากการกระทำ (Enactive Stage) คือ ขั้นของการเรียนรู้จากการใช้ประสาทสัมผัสรับรู้สิ่งต่าง ๆ การลงมือกระทำช่วยให้เด็กเกิดการเรียนรู้ดี การเรียนรู้เกิดจากการกระทำ 
2.   ขั้นการเรียนรู้จากความคิด (Iconic Stage) เป็นขั้นที่เด็กสามารถสร้างมโนภาพในใจได้ และสามารถเรียนรู้จากภาพแทนของจริงได้ 
3.   ขั้นการเรียนรู้สัญลักษณ์และนามธรรม (Symbolic Stage) เป็นขั้นการเรียนรู้สิ่งที่ซับซ้อนและเป็นนามธรรมได้



ทฤษฎีทางสติปัญญาของไวก็อตสกี้

     ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเองเป็นทฤษฏีที่ให้ความสำคัญกับกระบวนการและวิธีการของบุคคลในการสร้างความรู้ความเข้าใจจากประสบการณ์ รวมทั้งโครงสร้างทางปัญญาและความเชื่อที่ใช้ในการแปลความหมายเหตุการณ์และสิ่งต่างๆ ซึ่งเป็นกระบวนการการเรียนรู้ที่เน้นให้ผู้เรียนผู้สร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง เพราะความรู้ไม่ใช่มาจากการสอนของครูหรือผู้สอนเพียงอย่างเดียว แต่ความรู้จะเกิดขึ้นและถูกสร้างขึ้นโดยผู้เรียนเองและการเรียนรู้จะเกิดขึ้นได้ดีก็ต่อเมื่อผู้เรียนได้ลงมือกระทำด้วยตนเอง (Learning by doing) นอกจากกระบวนการเรียนรู้จะเป็นกระบวนการปฏิสัมพันธ์ภายในสมองแล้ว ยังเป็นกระบวนการทางสังคมด้วย การสร้างความรู้จึงเป็นกระบวนการทั้งด้านสติปัญญาและสังคมควบคู่กันไป

การเรียนรู้ คือ การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม โดยไม่มีที่สิ้นสุด
ประโยชน์ของการเรียนรู้
     เพื่อให้อยู่รอด ช่วยเหลือตนเองได้ทุกๆสถานการณ์

เด็กปฐมวัยมีการเรียนรู้อย่างไร?
     เด็กปฐมวัยเรียนรู้ผ่านการเล่น การได้ลงมือกระทำกับวัตถุ ได้คิดได้ทำในสิ่งที่สนใจ
ประโชน์ในการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย
      การเล่นจะทำให้เด็กไม่เบื่อ เขาไม่รู้เลยว่าการที่เขาเล่นนั้นแหล่ะ มันคือการเรียนรู้

วิธีการสอน
-มีแบบฝึกหัดให้ทำก่อนเรียน
-การอภิปรายถาม ตอบ
-ใช้เทคโนโลยีมาเป็นสื่อในการสอน

การประยุกต์ใช้
     นำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในการจัดกิจกรรมอย่างเหมาะสมและรอบด้าน

บรรยากาศในห้องเรียน
     มีแสงสว่างเพียงพอ โต๊ะเก้าอี้จัดว่างอย่างเป็นระเบียบ พื้นสะอาด วัสดุอุปกรณ์ในการเรียนการสอนครบ อากาศค่อนข้างเย็น

ประเมิน
ตนเอง=ตั้งใจเรียน ตั้งใจฟังอาจารย์สอน มีการจดบันทึกย่อเป็นระยะๆ เข้าใจเนื้อหาที่อาจารย์สอน
เพื่อน=ตั้งใจเรียน ให้ความร่วมมือในการตอบคำถามอาจารย์
ครูผู้สอน=แต่งกายสุภาพ พูดเสียงดังฟังชัด สั่งงานชัดเจน สอนให้เข้าใจง่ายขึ้น




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Large Rainbow Pointer