Large Rainbow Pointer Large Rainbow Pointer

วันเสาร์ที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

ครั้งที่15

บันทึกอนุทิน

  ประจำวันที่ 1 พฤษภาคม 2558


  สรุปการเรียนรายวิชาการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์เด็กปฐมวัย



         จากการเรียนการสอนในรายวิชาการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ทำให้ได้รู้
อะไรเพิ่มเติมมากมายจากสิ่งที่อาจารย์ได้สอนและแนะนำ ไม่ว่าจะเป็นเทคนิค และการบูรณาการ ต่างๆ
คณิตศาสตร์ก็มีความสำคัญและการเรียนรู้ก็อยู่รอบๆตัวเด็ก ซึ้งเป็นการเรียนการสอนที่ง่าย   วิชานี้ทำให้ได้เรียนรู้เพิ่มเติมเช่น การดูเวลาและการลงชื่อเด็ก,การให้เด็กได้ลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง,การนำป้ายชื่อมาติดเพื่อเรียนรู้คณิตศาตร์จากนาฬิกา  เวลา การมาก่อน-หลัง การนับจำนวนเพื่อนในห้อง ทำให้เรียนรู้สิ่งต่างๆได้มากยิ่งขึ้น และอาจารย์ผู้สอนยังสอดแทรกเทคนิคการสอนต่างๆ  เช่น การร้องเพลง แต่งเพลง นิทาน เกม คำคล้องจอง ฯลฯ  และยังได้รู้เกียวกับการเขียนแผนการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์ และได้ลองฝึกสอน อาจารย์ก็ให้คำแนะนำดีๆ ที่ควรนำไปใช้ และคณิตศาสตร์ยังมีการนำไปบูรณาการในการเรียนการสอนแบบอื่นๆอีก เช่น การสอนแบบโครงการ,การสอนแบบสตอรี่ไลน์(เดินเรื่อง), การสอนแบบSTEM,การสอนแบบบูรณาการ,การสอนแบบสมองเป็นฐานและ การสอนแบบมอนเตสซอรี่ และเรื่องที่ขาดไม่ได้เลยคือสาระมาตรฐานและการเรียนรู้คณิตศาสตร์ของเด็กฐมวัยทั้ง6สาระ ได้แก่
สาระที่1  จำนวนและการดำเนินการ
สาระที่2  การวัด
สาระที่3  เรขาคณิต
สาระที่4  พีชคณิต
สาระที่5  การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
สาระที่6  ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์
       ขอขอบคุณอาจารย์ประจำวิชาที่เคารพ ที่ได้ให้คำแนะนำทั้งเรื่องวิชาการและเรื่องของคุณธรรม จริยธรรม คือในเรื่องของการมีระเบียบวินัย การตรงต่อเวลา มารยาทในห้องเรียนและนอกห้องเรียน และดิฉันจะนำสิ่งที่อาจารย์สอนไปใช้ในการเรียนการสอนในภายภาคหน้า * ขอบคุณค่ะ *



ครั้งที่14

 บันทึกอนุทิน


  ประจำวันที่ 1 พฤษภาคม 2558

เนื้อหา


อาจารย์และนักศึกษาร่วมกันสรุปเนื้อหาทั้งหมดที่เรียนมา


 มาตราฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์ 
     การสอนตามแผนการจัดประสบการณ์
          - หาเรื่องที่จะสอน
          - วิเคราะห์สาระของหลักสูตร (ประเด็นไหนสำคัญกับเด็ก)
             สาระที่ควรเรียนรู้
             1.เรื่องราวเกี่ยวกับตัวเด็ก
             2.เรื่องราวเกี่ยวกับบุคคล และสถานที่แวดล้อมเด็ก
             3.ธรรมชาติรอบตัวเด็ก
             4.สิ่งต่างๆรอบตัวเด็ก
          - หาข้อมูล
          - ทำ mind mapping
          - ดูประสบการณ์สำคัญ (ด้านสติปัญญา)
          - สาระกรอบมาตราฐานคณิตศาสตร์

การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์ปฐมวัย จะบูรณาการ
       1.ภาษา,สุขศึกษา,สังคม,ศาสนา,คุณธรรมจริยธรรม,วิทยาศาสตร์,พลศึกษา,ดนตรี ฯลฯ
       2.พัฒนาการทั้ง 4ด้าน คือ
                1. ด้านร่างกาย
                2. ด้านอามรณ์-จิตใจ
                3. ด้านสังคม
                4. ด้านสติปัญญา
        3.บูรณาการกิจกรรมทั้ง 6 กิจกรรม คือ
                1. กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ
                2. กิจกรรมเสริมประสบการณ์
                3. กิจกรรมเสรี
                4. กิจกรรมกลางแจ้ง
                5. กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์
                6. เกมการศึกษา

เทคนิคและวิธีการสอน

  • นิทาน
  • เพลง
  • เกม
  • คำคล้องจอง
  • สื่อ

การจัดลำดับ
      1. ขั้นนำ
      2. ขั้นสอน
      3. ขั้นสรุป

การประเมิน
       สังเกต เครื่องมือ คือ แบบบันทึก
       สนทนา เครื่องมือ คือ แบบบันทึก
       ชิ้นงาน เครื่องมือ คือ แบบประเมิน

การร่วมมือของผู้ปกครอง

  • ให้เด็กมีส่วนร่วมในการไปจ่ายตลาด
  • ให้เด็กมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมในบ้าน
  • การอ่านป้ายทะเบียนรถ การบวกเลขทะเบียนรถ
  • ให้เด็กมีส่วนร่วมในการจัดของเข้าที่ (การจักหมวดหมู่)  
การใช้สื่อ

  • ใช้ของจริง
  • ใช้ของที่มี เช่น ถ้าจะใช้ผลไม้ ก็ควรใช้ผลไม้ตามฤดูกาล
  • ใช้ของที่หาง่าย
-การใช้เกณฑ์ที่เป็นเกณฑ์เดียวกัน (มีเกณฑ์เดีย)
-การคิดหลายรูปแบบ
-เกมการศึกษา

  1. จับคู่
  2. โดมิโน่
  3. จิ๊กซอ
  4. บวกเลขพื้นฐาน
  5. ความสัมพันธ์สองแกน
  6. เรียงลำดับ
  7. การศึกษารายละเอียดของภาพ ( Lotto )




วิธีการสอน

   - อภิปราย ถาม ตอบ 
   - ใช้เทคโนโลยีมาเป็นสื่อในการสอน
   - อธิบายและยกตัวอย่าง

การประยุกต์ใช้

     นำความรู้ ความเข้าใจที่ได้รับไปใช้ให้เกิดประโยชน์มากในเรื่องการจัดประสบการณ์เพื่อส่งเสริมสาระและมาตรฐาน และเกมการศึกษา  และยังสามารถนำเทคนิคที่ได้เรียนรู้ในครั้งนี้ไปใช้ในการจัดการเรียนการสอน

บรรยากาศในห้องเรียน

     มีแสงสว่างเพียงพอ โต๊ะเก้าอี้จัดว่างอย่างเป็นระเบียบ พื้นสะอาด วัสดุอุปกรณ์ในการเรียนการสอนครบ อากาศค่อนข้างเย็น

ประเมิน

ตนเอง=ตั้งใจฟังเวลาอาจารย์สอน เข้าเนื้อหาที่อาจารย์สอน เพราะอาจารย์ยกตัวอย่าง ทำให้เข้าใจมาก             ขึ้นอีก  
เพื่อน=ตั้งใจเรียน และสรุปร่วมกัน
ครูผู้สอน=แต่งกายสุภาพ พูดเสียงดังฟังชัดเจน จังหวะการพูดดี น่าฟัง อธิบายได้อย่างชัดเจน

สรุปโทรทัศน์ครู






สร้างพื้นฐานการเรียนรู้กับกิจกรรม 5ประสาทสัมผัส

คุณครูเด่นดวง ธรรมทวี    โรงเรียนบ้านสำโรงเกียรติ  จังหวัดศรีสะเกษ

                 การจัดการเรียนการสอนของปฐมวัยเป็นการเตรียมความพร้อมให้กับเด็กในทุกๆด้าน เช่น ด้านร่างกาย ด้านอารมณ์จิตใจ ด้านสังคม และด้านสติปัญญา 

             ขั้นตอนที่1ของการใช้ประสาทสัมผัสทั้ง5 คือ การมอง
เมื่อเด็กได้เห็นของจริง เด็กๆก็จะซึมซับรับเอาจากประสาทสัมผัสโดยการมองขนาดของรูปทรงว่าอันไหน ขนาดใหญ่ ขนาดเล็ก
ครูจะปล่อยให้เด็กๆเรียนรู้จากการมอง แยกแยะขนาดและความหนาบางของวัตถุด้วยตนเอง เพื่อสร้างประสบการณ์ตรงให้กับนักเรียน
พอเล่เกมเราจะเห็นว่าเด็กๆใช้สายตาในการคาดคะเน มองกระบอกพิมว่าส่วนนี้จะไปใส่ในช่องไหน เด็กเกิดการเรียนรู้โดยการคาดคะเน

             ขั้นที่2 คือ ประสาทสัมผัสทางด้านหู คือ การฟัง
การฟังเราก็จะมีเสียงที่ไม่เหมือนกัน การฟังจากกล่องเสียงจะมาเขย่าให้เด็กฟัง เสียงที่ดังที่สุดไปหาเสียงที่เบาที่สุด
เด็กก็จะเอามาเทียบเคียงจับคู่ เสียงดังขนาดนี้เด็กก็นำไปจับคู่กับอีกกล่องเสียงที่มีเสียงเท่ากัน เสียงดังจนถึงเสียงเบา
นอกจากกระบอกเสียงก็ยังมีการนำเปลือกหอยซึ่งเป็นวัสดุจากธรรมชาติ 

           ขั้นที่ คือ การสัมผัส การใช้มือสัมผัสสิ่งต่างๆ
การเรียนรู้เรื่องการสัมผัส คุณครูจะจัดกิจกรรมให้เด็กๆได้สัมผัสวัตถุจริงๆ โดยเริ่มต้นจากรูปทรงเลขาคณิตไปจนถึงเนื้อผ้าที่มีความละเอียดแตกต่างกัน เพื่อให้เด็กๆได้เรียนรู้มีเสียงเท่ากัน เสียงดังจนถึงเสียงเบา

นอกจากกระบอกเสียงก็ยังมีการนำเปลือกหอยซึ่งเป็นวัสดุจากธรรมชาติ 

          ขั้นที่ 4 คือ การดมกลิ่น
เด็กๆจะรู้เพียงว่า กลิ่นหอม กลิ่นเหม็น เป็นอย่างไร
เด็กๆได้พิสูจน์ในการดมกลิ่นแล้วเด็กๆสามารถบอกคุณครูได้ว่า กลิ่นนี้หอม กลิ่นนี้เหม็น หรือกลิ่นอะไร
เด็กๆจะได้เรียนรู้ผ่านประสาทสัมผัสของตนเองโดยวิธีการดม เพื่อให้เด็กๆเกิดการเรียนรู้เรื่องกลิ่น หลังจากที่เด็กตอบถูกแล้ว เราก็จะให้เด็ก นำกลิ่นนั้นมาจับคู่ การที่เด็กจับคู่ได้ถูกต้อง เกิดจากการใช้ประสาทการรับรู้ ในเรื่องการดมกลิ่น
คุณครูจะให้เด็กๆลองจับคู่กลิ่นที่ตนเองได้ดมไป เพื่อเป็นการทดสอบความเข้าใจในการใช่ประสาทสัมผัส การดมกลิ่น

          ขั้นที่ 5  ก็คือ การชิมรส
จะมีรสหลักๆให้อยู่4รส รสเค็ม รสเปรี้ยว รสหวาน รสขม คุณครูจะนำน้ำที่ผสมแล้ว เพื่อมาสอนเรื่องรสชาติต่างๆ เช่น น้ำเชื่อม น้ำมะนาว ให้เด็กๆได้เรียนรู้กัน เราจะเห็นได้ว่า เด็กจดจำรสชาติ แล้วไปเปรียบเทียบกับประสบการณ์เดิมที่เคยสัมผัสรับรู้มา

นอกจากกระบอกเสียงก็ยังมีการนำเปลือกหอยซึ่งเป็นวัสดุจากธรรมชาติ

                                *** หัวใจสำคัญของการเรียนรู้ด้วยประสาทสัมผัสทั้ง5ก็เพื่อให้เด็กได้
                                             เตรียมความพร้อมที่จะเรียนในชั้นที่สูงต่อไป ***

วันศุกร์ที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

ครั้งที่13

 บันทึกอนุทิน

  ประจำวันที่ 27 เมษายน 2558

เนื้อหา

           -นักศึกษาสรุปความรู้
                       
ประเด็นที่อาจารย์สรุปให้










วิธีการสอน

   -ให้นักศึกษาทำแบบประเมินความรู้
   
การประยุกต์ใช้

     นำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในการจัดกิจกรรมให้กับเด็กได้ตรงตามสาระ และ มาตราฐานที่เด็กควรได้รับอย่างถูกต้องและเหมาะสม

บรรยากาศในห้องเรียน

     อากาศดี เย็นสบาย

ประเมิน

ตนเอง=ได้ทำแบบประเมินเพื่อวัดความรู้ของตนเอง
เพื่อน=ตั้งใจทำงานที่ได้รับมอบหมาย
ครูผู้สอน=อธิบายได้อย่างชัดเจนและเข้าใจง่าย



ครั้งที่12

 บันทึกอนุทิน
  ประจำวันที่ 23 เมษายน 2558

เนื้อหา

นักศึกษาสอบสอนตามแผนการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์







การจัดประสบการณ์คณิตศาตร์ เรื่อง  ส้ม

ขั้นนำ

1.ร้องเพลงชนิดของส้ม

ขั้นสอน

2.ถามเเด็กว่าในเนื้อเพลง มีส้มชนิดใดบ้าง?
3.ถามเด็กว่า เด็กๆรู้จักส้มชนิดใดบ้างที่นอกเหนือจากเนื้อเพลง
4.ครูนำส้มมาโดยใช้ผ้าคลุมส้มทั้งหมด และให้เด็กออกมาหยิบส้มมาวางเรียงเพื่อนับและบอกจำนวน
5.ให้เด็กหยิบส้มจีนออกจากกลุ่มที่ไม่ใช่ส้มจีนและเปรียบเทียบกับกลุ่มที่ไม่ใช่ส้มจีน ว่ากลุ่มใดมีมากว่า       หรือน้อยกว่ากัน
6.ให้เด็กหยิบส้มจีนกับส้มที่ไม่ใช่ส้มจีนแบบหนึ่งต่อหนึ่ง กลุ่มไหนหมดก่อนแสดงว่ามีจำนวนน้อยกว่า         และกลุ่มไหนเหลือแสดงว่ามีจำนวนมากกว่า

ขั้นสรุป

7.ครูและเด็กทบทวนชื่อของส้มแต่ละชนิด และร่วมกันร้องเพลงชนิดของส้ม




วิธีการสอน
   -ให้นักศึกษาสอบสอนตามแผนการจัดประสบการณ์คณิตศาตร์
   
การประยุกต์ใช้
     นำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในการจัดกิจกรรมในการเรียนการสอน ได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม

บรรยากาศในห้องเรียน
     มีแสงสว่างเพียงพอ อากาศแจ่มใส (สอนนอกห้องเรียน)

ประเมิน
ตนเอง=ได้ฝึกสอบสอน กล้าแสดงออก ตั้งใจทำผลงานให้ออกมาดีที่สุด
เพื่อน=ตั้งใจเรียน ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม 
ครูผู้สอน=แต่งกายสุภาพ พูดเสียงดังฟังชัดเจน จังหวะการพูดดี น่าฟัง มีการแนะนำเทคนิคการสอนที่                      สามารถนำไปใช้ได้เป็นอย่างดี




วันศุกร์ที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2558

ครั้งที่11

 บันทึกอนุทิน
  ประจำวันที่ 8 เมษายน 2558

กิจกรรมก่อนเรียน




ครูเขียนคำบนกระดานดังนี้
ม้าลาย 2 ตัว 
นก      3 ตัว
เป็ด     2  ตัว
มีขารวมกันทั้งหมดกี่ขา ?
   นักเรียนจะเกิดกระบวนการคิด
ม้าลาย มี 4 ขา = 4 + 4  = 8
นก มี 2 ขา = 6
เป็ด มี 2 ขา  = 2 + 2  = 4
จะได้ 8 + 6 + 4 = 18
     ตอบ  มีขารวมกันทั้งหมด 18 ขา


เนื้อหา

   - วันนี้เรียนเรื่อง " การออกแบบกิจกรรม "

ขั้นตอนการออกแบบกิจกรรม
1. ศึกษาสาระที่ควรเรียนรู้
2. วิเคราะห์เนื้อหา
3. ศึกษาประสบการณ์จริง
4. บูรณาการคณิตศาสตร์
5. ออกแบบกิจกรรม

สาระที่ควรเรียนรู้
1. เรื่องราวเกี่ยวกับตัวเด็ก
2. เรื่องราวเกี่ยวกับบุคคลและสถานที่แวดล้อมตัวเด็ก
3. ธรรมชาติรอบตัวเด็ก
4. สิ่งต่างๆรอบตัวเด็ก

หลักในการเลือกหัวข้อเรื่องเพื่อสร้างหน่วย
1. เรื่องใกล้ตัว
2. เรื่องที่มีผลกระทบต่อตัวเด็ก

ประสบการณ์สำคัญ
-  ประสบการณ์สำคัญที่ส่งเสริมพัฒนาการด้านร่างกาย
-  ประสบการณ์สำคัญที่ส่งเสริมพัฒนาการด้านอารมณ์ จิตใจ
-  ประสบการณ์สำคัญที่ส่งเสริมพัฒนาการด้านสังคม
-  ประสบการณ์สำคัญที่ส่งเสริมพัฒนาการด้านสติปัญญา

ข้อควรคำนึงในการออกแบบกิจกรรม
    เลือกเนื้อหาเหมาะสมกับพัฒนาการ เพราะ
1. ข้อมูลเหล่านั้นจะสัมพันธ์กับข้อมูลเดิมที่เด็กมีทำให้มีการปรับโครงสร้างความรู้เป็นความรู้ใหม่
2. เหมาะสมกับความต้องการและความสามารถของเด็ก

ข้อควรคำนึงในการออกแบบกิจกรรม
    กระบวนการจ้ดกิจกรรมต้องสอดคล้องกับวิธีการเรียนรู้ เพราะ
-   กระบวนการที่เด็กได้ลงมือกระทำด้วยประสาทสัมผัสทั้ง 5 จะช่วยให้การนำส่งข้อมูลดังกล่าวสอดคล้องกับวิธีการทำงานของสมองตามพัฒนาการช่วยให้เด็กเกิดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ
 

         -  แบ่งกลุ่มทำ  Mind Mapping 

                    แบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม คือ กลุ่มสัตว์ 2 กลุ่ม และกลุ่มผลไม้ 2 กลุ่ม  กลุ่มของดิฉันจัดทำในเรื่อง " ส้ม "



ใน Mind Mapping เรื่อง ส้ม ประกอบด้วยหัวข้อย่อย ดังต่อไปนี้ คือ
- ชนิด
- ลักษณะ
- การดูแลรักษา
- ประโยชน์
- ข้อควรระวัง
- การขยายพันธุ์

           การทำ Mind Mapping ในครั้งนี้ได้อ้างถึงในหลักสูตรของเด็กปฐมวัย ในเรื่องของสาระที่เด้กควรเรียนรู้ จัดทำขึ้นเพื่อเป็นแนวทางในการจัดการเรียนการสอนโดยผ่านประสบการณ์จริง


       -  เขียนแผนการสอนรายกลุ่มเรื่อง ส้ม






วิธีการสอน
   -มีกิจกรรมตัวอย่างให้ทำก่อนเรียน
   -ใช้เทคโนโลยีมาเป็นสื่อในการสอน
   -มีกิจกรรมทรอดแทรกให้น่าสนใจ

การประยุกต์ใช้
     นำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในการจัดกิจกรรมโดยใช้เทคนิคในการจัดประสบการณ์ต่างๆ ให้น่าสนใจ และเด็กๆก็จะสนุกไปกับการเรียนมากยิ่งขึ้น

บรรยากาศในห้องเรียน
     มีแสงสว่างเพียงพอ โต๊ะเก้าอี้จัดว่างอย่างเป็นระเบียบ พื้นสะอาด วัสดุอุปกรณ์ในการเรียนการสอนครบ อากาศค่อนข้างเย็น

ประเมิน
ตนเอง=ตั้งใจฟังเวลาอาจารย์สอน เข้าเนื้อหาที่อาจารย์สอน เพราะอาจารย์ยกตัวอย่าง ทำให้เข้าใจมาก             ขึ้นอีก ร่วมทำกิจกรรมที่อาจารย์สอดแทรกในการเรียนการสอน 
เพื่อน=ตั้งใจเรียน ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม 
ครูผู้สอน=แต่งกายสุภาพ พูดเสียงดังฟังชัดเจน จังหวะการพูดดี น่าฟัง ร้องเพลงเพราะ มีวิธีการสอนที่                  สอดแทรกกิจกกรมที่ทำให้สนุกกับการเรียน

วันจันทร์ที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2558

ครั้งที่10

  บันทึกอนุทิน
                            ประจำวันที่ 25 มีนาคม 2558

กิจกรรมต่อไม้รูปทรงต่างๆ

อุปกรณ์

1.ไม้  
2.ดินน้ำมัน

กิจกกรม

1.ให้ต่อไม้กับดินน้ำมันเป็นรูปสามเหลี่ยม


2.ให้ต่อไม้กับดินน้ำมันเป็นรูปสี่เหลี่ยม

3.ให้ต่อไม้กับดินน้ำมันเป็นรูปอะไรก็ได้

 4.ให้ต่อไม้กับดินน้ำมันเป็นรูปทรงสามเหลี่ยม

5.ให้ต่อไม้กับดินน้ำมันเป็นรูปทรงสี่เหลี่ยม

6.ให้ต่อไม้กับดินน้ำมันเป็นรูปทรงอะไรก็ได้

 
เก็บตก  เลขที่...  นำเสนอ...

นำเสนอบทความ
     เลขที่2 เรื่อง คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

นำเสนอโทรทัศน์ครู
     เลขที่25 เรื่อง สร้างพื้นฐานการเรียนรู้กับกิจกรรม 5ประสาทสัมผัส
     เลขที่26 เรื่อง การสอนคณิตศาสตร์โดยใช้นิทาน






นำเสนอรูปแบบการสอน

นำเสนอรูปแบบการจัดประสบการณ์แบบมอนเตสซอรี่

หลักสูตรการสอนแบบมอนเตสซอรี่
หลักสูตรการสอนแบบมอนเตสซอรี่ ดร.มาเรีย มอนเตสซอรี่ ผู้ริเริ่มคิดและจัดตั้งวิธีการสอนแบบมอนเตสซอรี่ จากความเชื่อในการจัดการศึกษาให้แก่เด็กในระยะเริ่มต้นว่า จุดมุ่งหมายในการให้การศึกษาในระยะแรกนั้น ไม่ใช่การเอาความรู้ไปบอกให้เด็ก แต่ควรเป็นการปลูกฝังให้เด็กได้เจริญเติบโตไปตามความต้องการตามธรรมชาติของเขา 

ปรัชญาและหลักการสอน
1เด็กจะต้องได้รับการยอมรับนับถือ
2เด็กที่มีจิตซึมซับได้ 
3.ช่วงเวลาหลักของชีวิต 
4. การเตรียมสิ่งแวดล้อม 
5. การศึกษาด้วยตนเอง 

วิธีการจัดการเรียนการสอน
การเตรียม    = ครูเตรียมอุปกรณ์การศึกษาเด็กสามารถเข้าเรียนแบบคละอายุได้
การดำเนินการ = ขั้นนำ เด็กเลือกอุปกรณ์การศึกษาตามความสนใจ ,ขั้นสอน ครูสาธิตให้เด็กดู
ขั้นสรุป ครูให้เด็กเก็บอุปกรณ์ ครูบันทึกความรู้ ครูบันทึกรายการอุปกรณ์





 นำเสนอรูปแบบการจัดประสบการณ์แบบสตอรี่ไลน์ (Story line method)
วิธีสอนแบบสตอรีไลน์ เป็นวิธีที่ใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง จะมีการผูกเรื่องแต่ละตอนให้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง และเรียงลำดับเหตุการณ์ หรือที่เรียกว่า กำหนดเส้นทางเดินเรื่อง โดยใช้คำถามหลักเป็นตัวนำ สู่การให้ผู้เรียนทำกิจกรรมอย่างหลากหลาย เพื่อสร้างความรู้ด้วยตนเอง เป็นการเรียนตามสภาพจริง ที่มีการบูรณาการระหว่างวิชา เพื่อเป้าหมายพัฒนาศักยภาพของผู้เรียนทั้งตัว

ลักษณะเด่นของวิธีสอน
     1.กำหนดเส้นทางการเดินเรื่อง (Storyline) และจัดเรียงเป็นตอนๆ (Episode) ด้วยการใช้คำถามหลัก (Key Questions) เป็นตัวกำหนดกิจกรรมเพื่อการเรียนรู้
     2.เน้นการใช้กิจกรรม (Activity Based Approach) ให้สอดคล้องกับคำถามหลัก และเนื้อหาการผูกเรื่อง
     3.เน้นให้ผู้เรียนสร้าง (Construct) ความรู้ด้วยตนเอง
     4.เป็นการเรียนตามสภาพจริง (Authentic Learning) มีการบูรณาการระหว่างวิชา (Integration)
     5.มีเหตุการณ์ (Incidents) เกิดขึ้นเพื่อให้ผู้เรียนได้แก้ไขปัญหาและเรียนรู้
     6.แต่ละเรื่อง หรือแต่ละเหตุการณ์ที่กำหนด ต้องมีการระบุสิ่งต่อไปนี้ หรือมีองค์ประกอบต่อไปนี้
1) กำหนดฉาก โดยระบุสถานที่และเวลาโดยเฉพาะ
2) ตัวละคร อาจเป็นคนหรือเป็นสัตว์
3) วิถีการดำเนินชีวิตเพื่อใช้ศึกษา
4) ปัญหาที่รอการแก้ไข







 นำเสนอรูปแบบการจัดประสบการณ์แบบสมองเป็นฐาน BBL

วิธีการเตรียมความพร้อมทางสมอง
             1. การดื่มน้ำ ควรดื่มน้ำบริสุทธิ์ วันละ 6 – 8 แก้ว เพราะถ้าร่างกายได้รับน้ำอย่างเพียงพอจะทำให้เซลล์สมองทำหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
              2. การรับประทานอาหาร ควรรับประทานอาหารให้ครบ หมู่ ซึ่งถูกต้องตามหลักโภชนาการ เพราะอาหารจะทำให้เซลล์ประสาท / เซลล์สมองเจริญเติบโต ส่งผลให้ความจำดีและเกิดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ
                3. การหายใจ ควรฝึกหายใจให้ลึก ๆ ซ้ำ ๆ และมีจังหวะที่แน่นอน เพราะสมองต้องการออกซิเจน และออกซิเจนช่วยให้กระบวนการคิดดี ซึ่งถ้ามีการหายใจที่ถูกต้องจะช่วยให้เกิดสมาธิ สมองปลอดโปร่ง ลดสภาพการหลง ๆ ลืม ๆ และสามารถป้องกันโรคสมองเสื่อมได้
                4. การฟังเพลง / ดนตรี ควรหาโอกาสฟังเพลง / ดนตรี จะกระตุ้นให้เกิดการรับรู้และกระตุ้นการทำงานของสมองทั้งสองซีกให้สอดคล้องกันทั้งระบบ 
               5. การคลายความเครียด ความเครียดเป็นอุปสรรค์ต่อการเรียนรู้ ดังนั้น ควรหาเวลาพักผ่อน ออกกำลังกาย จัดลำดับความสำคัญของงาน การหัวเราะ / ยิ้ม ทำให้จิตใจเบิกบาน ไม่เครียดและไม่คิดว่าตัวเองเป็นคนไร้ค่า
                6. การบริหารสมอง การบริหารสมองเป็นระบบการเคลื่อนไหวร่างกาย ที่จะเร้าให้ สมองทำงานอย่างดี เป็นการเชื่อมโยงระหว่างการเคลื่อนไหวร่างกายกับการทำงานของสมอง 




 นำเสนอรูปแบบการจัดประสบการณ์แบบSTEM
   STEM ย่อมาจาก Science, Technology, Engineering and Mathematics เป็นแนวทางการเรียนการสอนที่มีลักษณะของการบูรณาการการเรียนการสอนทั้งสี่สาขาเข้าด้วยกัน คือ วิทยาศาสตร์ (Science), เทคโนโลยี (Technology),วิศวกรรมศาสตร์ (Engineering) และคณิตศาสตร์ (Mathematics) เพื่อให้ผู้เรียนนำความรู้ทุกแขนงมาใช้ในการแก้ปัญหา และสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ในชีวิตประจำวัน โดยอาศัยการจัดการเรียนรู้ด้วยครูหลายสาขาร่วมมือกัน
              - Science เป็นวิชาที่ว่าด้วยการศึกษาปรากฏการณ์ต่างๆ ในธรรมชาติ โดยอาศัยกระบวนการสืบเสาะทางวิทยาศาสตร์ (Scientific Inquiry)
                   -Technology เป็นวิชาที่ว่าด้วยกระบวนการทำงานที่มีการประยุกต์ศาสตร์สาขาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง มาใช้ในการแก้ปัญหา ปรับปรุงแก้ไขหรือพัฒนาสิ่งต่างๆ เพื่อตอบสนองความต้องการ หรือความจำเป็นของมนุษย์
                   -Engineering เป็นวิชาที่เกี่ยวกับการสร้างสรรค์นวัตกรรมหรือสร้างสิ่งต่างๆ เพื่อมาอำนวยความสะดวกของมนุษย์ โดยอาศัยความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และกระบวนการทางเทคโนโลยี มาประยุกต์ใช้สร้างสรรค์ชิ้นงานนั้นๆ
                   -Mathematics เป็นวิชาที่ว่าด้วยการศึกษาเกี่ยวกับการคำนวณ หรือ วิชาที่เกี่ยวกับการคำนวณ เป็นพื้นฐานสำคัญในการศึกษาและต่อยอดทางวิศวกรรมศาสตร์ 
-นำเสนอการแต่งนิทานคณิตศาสตร์ คำคล้องจอง ปริศนาคำทาย จากสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย




วิธีการสอน
   -มีกิจกรรมตัวอย่างให้ทำก่อนเรียน
   -ใช้เทคโนโลยีมาเป็นสื่อในการสอน
   -มีกิจกรรมทรอดแทรกให้น่าสนใจ

การประยุกต์ใช้
     นำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในการจัดกิจกรรมโดยใช้เทคนิคในการจัดประสบการณ์ต่างๆ ให้น่าสนใจ และเด็กๆก็จะสนุกไปกับการเรียนมากยิ่งขึ้น

บรรยากาศในห้องเรียน
     มีแสงสว่างเพียงพอ โต๊ะเก้าอี้จัดว่างอย่างเป็นระเบียบ พื้นสะอาด วัสดุอุปกรณ์ในการเรียนการสอนครบ อากาศค่อนข้างเย็น

ประเมิน
ตนเอง=ตั้งใจฟังเวลาอาจารย์สอน เข้าเนื้อหาที่อาจารย์สอน เพราะอาจารย์ยกตัวอย่าง ทำให้เข้าใจมาก             ขึ้นอีก ร่วมทำกิจกรรมที่อาจารย์สอดแทรกในการเรียนการสอน 
เพื่อน=ตั้งใจเรียน ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม 
ครูผู้สอน=แต่งกายสุภาพ พูดเสียงดังฟังชัดเจน จังหวะการพูดดี น่าฟัง ร้องเพลงเพราะ มีวิธีการสอนที่                  สอดแทรกกิจกกรมที่ทำให้สนุกกับการเรียน